ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อจีนขึ้นภาษีตอบโต้มาตราการทุ่มตลาดไวน์ของออสเตรเลีย
ในวันที่ 27 พฤศจิกายนกระทรวงพาณิชย์จีนได้แถลงการณ์ขึ้นภาษีนำเข้าไวน์จากประเทศออสเตรเลียหลังจากมีการตรวจสอบในเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้มาตรการทุ่มตลาดไวน์ของจีนจากประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีนจะเก็บภาษีนำเข้าไวน์จากประเทศออสเตรเลียที่อัตราระหว่างร้อยละ 100ถึงร้อยละ 200 โดยมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 28พฤศจิกายน
ในวันที่ 28 พฤศจิกายนกระทรวงพาณิชย์จีนได้ประกาศว่าออสเตรเลียจะต้องเสียภาษีนำเข้าไวน์ที่อัตราระหว่างร้อยละ 107.1 ถึงร้อยละ 212.1
นอกจากนี้ไวน์จากประเทศออสเตรเลียยังได้รับผลกระทบอีกเป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมหลังจากกระทรวงพาณิชย์จีนได้แถลงการณ์ว่าไวน์ที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต้นทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากกับบริษัทผลิตไวน์และอุตสาหกรรมไวน์ภายในประเทศจีน เพื่อความยุติธรรมทางด้านการค้าประเทศจีนจึงได้ออกมาตรการตอบโต้นโยบายการอุดหนุนทางการค้าดังกล่าวต่อผู้ส่งออกไวน์จากออสเตรเลียมาที่ประเทศจีนซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคมโดยที่ผู้ผลิตไวน์จากออสเตรเลียจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่อัตราระหว่างร้อยละ 6.3 ถึง ร้อยละ 6.4 เพิ่มเติมจากอัตราภาษีใหม่ที่จะต้องจ่ายจากมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด
มาตรการขึ้นภาษีและค่าธรรมเนียมนี้จะทำให้ต้นทุนในการนำเข้าไวน์จากออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากและทำให้ความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของออสเตรเลียนไวน์ในตลาดจีนลดลง หากมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดดังกล่าวถูกนำมาใช้ในระยะยาว จำนวนผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายออสเตรเลียนไวน์ในประเทศจีนจะเริ่มลดลงซึ่งสุดท้ายแล้วผู้ผลิตไวน์รายย่อยจาออสเตเรียอาจจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดจีนได้อีกต่อไป
ผู้ส่งออกออสเตเรียนไวน์รายหนึ่งได้ให้ความเห็นว่าบริษัทนำเข้าไวน์ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางจะต้องจำกัดปริมาณการนำเข้าไวน์จากออสเตรเลียอย่างแน่นอนในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่เช่น Treasury Wine Estates และ The Swan Wine Group ก็อาจจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
ประเทศจีนคือลูกค้าหลักของผู้ผลิตไวน์จากออสเตรเลีย
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการลดภาษีนำเข้าทุกปีจนเกือบถึงอัตราร้อยละศูนย์ในปี 2562 ทำให้ไวน์จากประเทศออสเตรเลียขายดีและมีสัดส่วนทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนทางการตลาดมากกว่าไวน์จากประเทศฝรั่งเศสและกลายเป็นประเทศที่มีปริมาณยอดขายไวน์สูงที่สุดในประเทศจีนในปี 2562
ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมส่งออกไวน์ของออสเตรเลียขึ้นอยู่กับคู่ค้าหลักที่สำคัญอย่างประเทศจีนเป็นอันมากจากข้อมูลที่รวบรวมโดย Wine Australia ปริมาณการส่งออกไวน์จากออสเตรเลียไปจีนในปี 2562 แตะระดับ 1.28พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียหรือประมาณ 6.4 พันล้านหยวนหรือ 950ล้านดอลล่าร์สหรัฐซึ่งนับเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณการส่งออกไวน์ทั้งหมดของประเทศออสเตรเลียในปีนั้น
จากฐานข้อมูลของ AskCI ประเทศ 10อันดับแรกที่จีนนำเข้าไวน์ในปี 2562 ประกอบไปด้วย ออสเตเรีย ฝรั่งเศส ชิลี อิตาลี สเปน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินาโปรตุเกส แอฟริกาใต้และเยอรมนี โดยออสเตเรียมีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 35 ของยอดขายทั้งหมดในขณะที่ฝรั่งเศสและชิลีมีสัดส่วนการตลาดรองลงมาที่ร้อยละ 29 และร้อยละ 14 ตามลำดับ
ข้อกล่าวหาเรื่องการทุ่มตลาดของออสเตเรียเริ่มขึ้นเมื่อต้นปี
การตรวจสอบเรื่องที่ประเทศออสเตรเลียใช้มาตรการทุ่มตลาดได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 6 เดือนกรกฎาคมของปีนี้เมื่อสมาคมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจีนได้นำเรื่องเสนอขึ้นต่อกระทรวงพาณิชย์จีน
มีรายงานว่าประเทศจีนมีแนวคิดที่จะห้ามการนำเข้าไวน์จากประเทศออสเตรเลียตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนเมื่อตัวแทนจำหน่ายพบว่าผลิตภัณฑ์ไวน์แดงที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียต้องเผชิญกับความยุ่งยากหลายประการในการผ่านด่านศุลกากรจีน ผู้นำเข้าบางส่วนถูกกักตุนสินค้าไว้ที่ด่านศุลกากรเป็นระยะเวลานานในขณะที่ผู้นำเข้ารายอื่นถูกบังคับให้ยกเลิกสัญญาและส่งไวน์ไปขายที่ประเทศอื่น ถึงแม้ว่ามาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในเบื้องต้นครั้งนี้อาจจะเป็นมาตรการชั่วคราวแต่ผู้ค้าทั้งหลายต่างมีความวิตกกังวลว่ามาตรการดังกล่าวจะนำไปสู่การขึ้นภาษีนำเข้าในระยะยาว
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเบื้องต้นในครั้งนี้จะส่งผลกระทบมากแค่ไหน
จากผลการตรวจสอบเบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์จีนยืนยันว่ามีการทุ่มตลาดไวน์ในประเทศจีนจากสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้ผู้ผลิตไวน์ในประเทศจีนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
ตามกฎข้อบังคับโดยทั่วไปของจีนการดำเนินการต่อต้านการทุ่มตลาดจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนของการไต่สวน การยื่นฟ้อง การพิจารณาเบื้องต้น การพิจารณาครั้งสุดท้ายและการทบทวนระยะสุดท้าย สำหรับข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุ่มตลาดไวน์ของออสเตรเลียในครั้งนี้นั้นการไต่สวนได้ถูกนำเสนอขึ้นไปที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 การพิจารณาเบื้องต้นที่จะมีการเพิ่มภาษีศุลกากรได้ถูกนำมาใช้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ในขณะที่การพิจารณาขั้นสุดท้ายจะถูกตัดสินในภายภาคหน้า
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแบบชั่วคราวในครั้งนี้จะถูกนำมาใช้ไม่เกิน 4 เดือนนับจากวันที่ประกาศ แต่อย่างไรก็ดีระยะเวลาอาจจะถูกยืดออกไปจนถึง 9 เดือนในกรณีพิเศษ ซึ่งหมายความว่าการพิจารณาขั้นสุดท้ายน่าจะมีขึ้นภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
ต้นทุนการส่งออกไวน์ออสเตรเลียไปที่ประเทศจีนจะสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
โรงบ่มไวน์หลายที่ได้ชี้ให้เห็นว่าการตัดสินครั้งนี้จะทำให้ต้นทุนของไวน์ที่นำเข้าจากออสเตเรียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ว่าในขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าราคาขายปลีกให้ผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่แต่แน่นอนที่สุดว่าราคาขายจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
สมาชิกในอุตสาหกรรมไวน์บางส่วนได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าปริมาณของไวน์นำเข้าจากออสเตเรียในโกดังจีนจะมีพอขายได้จนถึงต้นปี 2564 และไม่น่าจะเกิดเหตุการกักตุนไวน์หรือการซื้อไวน์เก็บไว้ในปริมาณมากตราบใดที่ผู้บริโภคยังคงสามารถหาซื้อไวน์ออสเตรเลียในตลาดได้เหมือนแต่ก่อนอย่างไรก็ดีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการนำเข้าไวน์จากออสเตรเลียอาจทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้นสำหรับไวน์ที่เป็นที่นิยมในขณะที่การคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวต่ออุปทานละราคาของไวน์อาจจะยังเป็นไปได้ยากในขณะนี้
ถ้าผู้นำเข้าไวน์จากออสเตรเลียถูกบังคับให้ต้องจ่ายต้นทุนที่แพงขึ้นในระยะยาวผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายเหล่านี้จะเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาทดแทนไวน์จากประเทศออสเตเรียความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการค้าไวน์ระหว่างจีนและออสเตรเลียในอนาคต
สมาชิกในอุตสาหกรรมไวน์บางรายยังระบุด้วยว่าผู้นำเข้าหลายรายอาจพบความยากลำบากที่จะต้องตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับผู้ผลิตและพันธมิตรในออสเตรเลียที่มีมาอย่างยาวนานเพื่อเปลี่ยนไปนำเข้าไวน์จากประเทศอื่นๆแทน
ออสเตรเลียอาจจะขายไวน์ในประเทศจีนในบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
กระทรวงพาณิชย์จีนมีความกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าไวน์จากประเทศออสเตรเลียที่ส่วนใหญ่มีปริมาณขวดละ 2 ลิตรหรือน้อยกว่า ผู้ส่งออกไวน์จากออสเตเรียได้ให้ความเห็นไว้ว่ามาตรการดังกล่าวจะกระทบตลาดไวน์เกือบทั้งหมดเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วไวน์ออสเตรเลียจะมีขนาดขวดที่ปริมาณ 2 ลิตรหรือน้อยกว่า ในขณะที่ไวน์ที่มีขนาดขวดใหญ่กว่า 2 ลิตรนั้นจะหาได้ยากกว่าในท้องตลาด ทั้งนี้ผู้ผลิตไวน์จากออสเตรเลียสามารถเปลี่ยนขนาดขวดบรรจุไวน์ให้ใหญ่ขึ้นได้เพื่อที่จะสามารถส่งออกไปยังประเทศจีนในอนาคตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นในอัตราภาษีที่น้อยการส่งออกไวน์ในขนาดขวดปริมาณปกติ
สำหรับผลกระทบต่อภาคการขนส่งในห่วงโซ่อุปทานนั้น มาตรการของกระทรวงพาณิชย์จีนในครั้งนี้ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนอย่างสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ส่งออกไวน์ออสเตรเลียได้เปิดเผยว่าพวกเขาต้องประสบกับความยุ่งยากในการผ่านด่านศุลกากรตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนซึ่งพวกเขาได้รับการแจ้งว่าสินค้าจะต้องถูกกักตุนเอาไว้ในกรมศุลกากรเป็นเวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานกว่าที่เคยเป็นที่จะใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 2-3 วันเท่านั้น นอกจากนี้สินค้าเหล่านี้ยังได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดซึ่งทำให้ขั้นตอนการขนส่งนั้นต้องล่าช้าไปอีก ผู้ส่งออกจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกไปจากการยกเลิกการขนส่งมายังประเทศจีนและหยุดการผลิตเอาไว้ชั่วคราว
โรงบ่มไวน์ออสเตรเลียรายใหม่ที่พึ่งเข้ามาบุกตลาดจีนนั้นได้รายงานประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันว่าการขนส่งมีการติดขัดอยู่ที่กรมศุลกากรจีนระหว่างช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งหลังจากนั้นผู้ผลิตไวน์ของออสเตรเลียทั้งหมดได้เริ่มหยุดการส่งออกไปที่ประเทศจีนในขณะที่ผู้นำเข้าจากจีนได้หยุดคำสั่งซื้อสินค้าทั้งหมด
จะมีมาตรการทางภาษีอย่างอื่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไวน์ระบุว่าการขึ้นภาษีอาจจะเป็นเพียงแค่มาตรการชั่วคราวแต่อย่างไรก็ดีเราก็ไม่สามารถคาดการณ์อะไรได้เกี่ยวกับการพิจารณามาตราการขั้นสุดท้าย ซึ่งผู้ค้าไวน์ต่างก็มีความวิตกกังวลว่าไวน์จากออสเตรเลียอาจจะต้องจ่ายภาษีมากขึ้นกว่าที่เคยจ่ายอยู่ที่อัตราร้อยละศูนย์
จากข้อตกลงทางการค้าระหว่างจีนกับออสเตรเลียที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2558 ให้ลดอัตราภาษีการนำเข้าลงติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีจนถึงอัตราร้อยละ 2.8 ในปี 2561 และ ร้อยละศูนย์ ในปี 2562 อย่างไรก็ดีข้อพิพาททางการค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้ในช่วงปีที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายมีความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าที่ย่ำแย่ลง
นายเจเลมี่ โอลิเวอร์ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและนักวิจารณ์ไวน์กล่าวว่าถ้าสุดท้ายแล้วมีการนำภาษีดังกล่าวมาใช้อย่างถาวร ผลประโยชน์ที่ผู้ผลิตไวน์แดงจากประเทศออสเตรเลียเคยได้รับจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญและผู้ขายที่นำเข้าไวน์จากออสเตรเลียเป็นหลักจะต้องพบกับความท้าทายเป็นอย่างมาก นายโอลิเวอร์เชื่อว่าถ้าภาษีถูกกำหนดที่อัตรามากกว่าร้อยละ 20 แล้ว ความสามารถในการแข่งขันไวน์ของออสเตรเลียในตลาดจีนจะลดลงเป็นอย่างมาก เพราะข้อได้เปรียบทางการค้าที่เคยมีเมื่อเทียบกับไวน์คู่แข่งที่นำเข้าจากสเปน อิตาลี ฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ ชิลีและอาร์เจนตินาจะหายไป
ผู้นำเข้าต้องหาทางเลือกอื่นถึงแม้ว่าผู้บริโภคจีนจะชอบไวน์จากออสเตรเลีย
ไวน์ที่ผลิตในประเทศออสเตรเลียได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไวน์โลกใหม่” ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาได้กลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของผู้ผลิต “ไวน์โลกเก่า” จากประเทศแถบยุโรปตะวันตกเช่นฝรั่งเศส ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไวน์จากออสเตรเลียจะมีราคาถูกกว่าไวน์จากฝรั่งเศสและมีรสชาติที่หวานและถูกใจผู้บริโภคจากประเทศจีนมากกว่า
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียสามารถกลายเป็นผู้นำในตลาดไวน์ของประเทศจีนได้อย่างง่ายดาย ถึงแม้ว่าผู้ส่งออกไวน์ของออสเตรเลียได้ส่งออกสินค้าไปที่ฮ่องกงและสิงคโปร์บ้างแต่ยอดขายหลักยังคงมาจากประเทศจีนซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าลูกค้าจากตลาดจากประเทศอื่นเป็นอันมาก
ผู้นำเข้าต่างๆได้เริ่มมองหาทางเลือกอื่นสำหรับธุรกิจนำเข้าไวน์ในอนาคตเช่นการเพิ่มปริมาณการนำเข้าไวน์จากประเทศอื่นนอกจากประเทศออสเตรเลีย ในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสนั้นถือได้ว่าเป็นเจ้าตลาดไวน์ในมุมมองของผู้บริโภคชาวจีน ในขณะที่ไวน์จากประเทศอื่นๆที่ยังมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละศูนย์เช่นชิลีนิวซีแลนด์และจอร์เจียก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้นำเข้าไวน์ของจีนที่มุ่งจะเติบโตธุรกิจต่อไปในอนาคต
สุดท้ายนี้สิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยก็คือตัวเลือกของไวน์ที่ผลิตภายในประเทศจีนเองซี่งก็มีอัตราการเติบโตที่ดีเช่นเดียวกันเช่นไวน์จากซินเจียง หนิงเซี่ย เหอเป่ยและซานตงที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในประเทศจีน