Learn About WineWine

เขตละติจูดใหม่ – ไวน์เอเชีย

แหล่งผลิตไวน์กลุ่มใหม่

ก่อนหน้านี้แหล่งผลิตไวน์คือส่วนหนึ่งของหนึ่งในสองแหล่ง ไวน์โลกเก่า หรือ ไวน์โลกใหม่ ซึ่งทั้งสองแหล่งนั้นมีความแตกต่างระหว่างกันอยู่มากมาย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีแหล่งที่สามเกิดขึ้น ที่เราเรียกกันว่าแหล่งผลิตไวน์ละติจูดใหม่ ซึ่งรวมถึงบางส่วนของเอเชีย ตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ตอนเหนือของแอฟริกา และส่วนหนึ่งทางตอนเหนือของอเมริกาใต้

แหล่งผลิตไวน์โลกเก่าและไวน์โลกใหม่

แหล่งผลิตไวน์โลกเก่าและไวน์โลกใหม่

Old-VS-New-World-Wine-Map.pdf | Old-VS-New-World-Wine-Map.png (High Definition)

ก่อนอื่นเรามาให้คำจำกัดความคำว่าไวน์โลกเก่าและไวน์โลกใหม่กันก่อน ไวน์โลกเก่านั้นมาจากแหล่งผลิตไวน์ที่มีการผลิตไวน์และปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์เป็นที่แรกของโลก ประเทศเหล่านี้ประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

ส่วนไวน์โลกใหม่นั้นมาจากประเทศและแหล่งผลิตไวน์ต่าง ๆ ที่เคยมีการนำเข้าองุ่นที่ใช้ทำไวน์และได้มีการเรียนรู้กระบวนการผลิตไวน์ ประเทศเหล่านี้ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ชิลี อาร์เจนตินา แคนาดา และประเทศอื่น ๆ

คุณจะสังเกตได้ว่าทั้งประเทศไวน์โลกเก่าและประเทศไวน์โลกใหม่นั้นต่างอยู่ในเขตละติจูด 30-50 องศาเหมือนกัน และนี่คือเขตละติจูดที่เหมาะในการปลูกองุ่นและสามารถปลูกได้ง่ายดายที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของโลก องุ่นส่วนใหญ่ต้องการเวลาประมาณ 150 ถึง 170 ในการเจริญเติบโตด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน หรือในวันปกติที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศา เพื่อให้เถาองุ่นสามารถเจริญเติบโต ผลิดอกและออกผล

องุ่นบางสายพันธุ์สามารถทนต่อฤดูหนาวที่รุนแรงได้ ในขณะที่บางสายพันธุ์เหมาะกับฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงมากกว่า และแน่นอนว่าองุ่นไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดและมีความชื้นสูง (ภูมิอากาศเขตร้อน) หรือสภาพอากาศที่แห้งแล้งและดินที่ขาดสารอาหาร (ทะเลทราย)

ไวน์ละติจูดใหม่

ไวน์ละติจูดใหม่

New-Latitude-Wines-Map.pdf | New-Latitude-Wines-Map.png (High Definition)

ไวน์ละติจูดใหม่นั้นถือเป็นไวน์ที่ปลูกในภูมิภาคและประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในระหว่างเขตละติจูดที่สูงกว่า 50 องศาหรือเขตละติจูดที่ต่ำกว่า 30 องศา แหล่งผลิตไวน์เหล่านี้มีภูมิอากาศแบบเขตร้อนหรือแห้งแล้ง ซึ่งทำให้การปลูกองุ่นนั้นทำได้ยาก ประเทศไทย พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม และอีกหลาย ๆ ประเทศได้พยายามที่จะหาวิธีการในการปลูกองุ่น

ประเทศที่อยู่ใกล้เส้น 30 องศานั้นสามารถปลูกองุ่นได้ง่ายกว่าประเทศอื่น ๆ ส่วนประเทศที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 30 องศามักจะมีอากาศที่ร้อนเกินไปและมักจะมีปริมาณน้ำมากเกินไปหรือไม่ก็น้อยเกินไป

ภูมิอากาศเขตร้อนนำความท้าทายมากมายมาให้กับผู้ผลิตไวน์ เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากและมีความชื้นสูง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหายเนื่องจากเชื้อราและโรคราน้ำค้าง ส่วนในบางพื้นที่ภูมิอากาศไม่เหมาะสมที่จะทำให้เถาองุ่นได้เข้าสู่ระยะพักตัวของมัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว เมื่อเถาองุ่นอยู่ในระยะพัก ปลิดใบและกักเก็บสารอาหารไว้สำหรับฤดูกาลถัดไป

ส่วนประเทศที่ปลูกในเขตละติจูดที่สูงกว่า 50 องศานั้นมีอุณหภูมิที่เย็นเกินไป เถาองุ่นอยู่ในระยะพักตัวเกือบตลอดทั้งปี และไม่มีแสงอาทิตย์เพียงพอที่จะทำให้องุ่นสุกได้เต็มที่

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับโรงบ่มไวน์ละติจูดใหม่ คือ การทำให้เถาองุ่นเข้าสู่วงจรการสืบพันธุ์เมื่อองุ่นเติบโตในช่วงฤดูกาลที่เหมาะสม ถ้าไม่เช่นนั้นองุ่นจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูมรสุม ซึ่งเทียบได้กับช่วงฤดูหนาวของอเมริกาเหนือ

ไวน์ละติจูดต่ำ

ไวน์ละติจูดต่ำ

ไวน์ละติจูดต่ำเป็นปรากฏการณ์ใหม่ล่าสุดในโลกของไวน์ ในขณะที่เราได้ทำการเพาะปลูกองุ่นในหลาย ๆ ภูมิภาคของโลกไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นนั้นกำลังเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมสภาพภูมิอากาศและทำการปรับให้เถาองุ่นของพวกเขาเหมาะกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองเพาะปลูกองุ่นที่จะสามารถเติบโตได้อย่างดีในสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก คุณจะเห็นมันได้จากแหล่งผลิตไวน์โลกใหม่บางแห่ง เช่น นิวยอร์ก ซึ่งมีการเพาะปลูกองุ่นที่จะไม่เกิดการแข็งตัวได้โดยง่าย และสามารถทนต่ออุณหภูมิที่เย็นจัดได้

ผลกระทบจากสารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช และสารฆ่าเชื้อรามีผลต่อการผลิตไวน์ละติจูดต่ำ พื้นที่เหล่านี้มีศัตรูพืชและเพลี้ยที่แตกต่างจากพื้นที่เพาะปลูกองุ่นอื่น ๆ และพื้นที่ที่มีความชื้นบางแห่งนั้นมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดปัญหาเชื้อราต่าง ๆ

แม้แต่พื้นที่ที่ดูเหมือนว่ามีปริมาณน้ำอยู่มากก็ได้มีการนำการชลประทานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำให้เถาองุ่นไม่เข้าสู่ระยะพักตัว บางพื้นที่นั้นสามารถทำการเก็บเกี่ยวได้ถึงสองครั้งเพราะเถาองุ่นไม่มีระยะพักตัวแต่ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนในพื้นที่อื่น ๆ นั้นก็มีการพยายามทำให้เถาองุ่นของพวกเขาได้มีระยะพักตัว เพื่อให้องุ่นมีคุณภาพที่สูงขึ้นและเก็บกักแร่ธาตุในดิน

ประเทศไทย

ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเริ่มได้รับความสนใจจากนานาชาติในเรื่องของไวน์ การปลูกองุ่นบริโภคผลสดได้ถูกปลูกขึ้นในช่วงปี 1960 และได้มีการขยายไปสู่การปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์ การเน่าเสีย เชื้อรา และโรคราน้ำค้างกำลังเป็นอุปสรรคต่อการปลูกองุ่นในภูมิอากาศเขตร้อนเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม องุ่นพันธุ์ Malaga Blanc ก็ปลูกได้สำเร็จในไร่องุ่นลอยน้ำที่มีการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตกลับมาบนดินด้วนเรือแคนู

ผิวที่หนาขององุ่นช่วยรับมือกับปริมาณน้ำฝนจำนวนมากและความชื้นที่สูง องุ่นสามารถทนต่อช่วงระยะพักตัวที่สั้นลงและสุกช้าลงเหมาะสำหรับภูมิอากาศเขตร้อน

อินโดนีเซีย

แม้ว่าจะมีความท้าทายทางด้านภูมิอากาศและขาดนักดื่มไวน์เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่ประเทศอินโดนีเซียก็ได้มีการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของไวน์ที่ผลิตให้สูงขึ้น บ่อยครั้งที่มีการนำเข้าน้ำองุ่น แต่อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียได้มีการเพิ่มปริมาณการปลูกองุ่นพันธุ์ Vitis Vinifera

พวกเขากำลังปลูกองุ่นหลากหลายชนิดในสายพันธุ์ Muscat องุ่นขาวผิวหนาที่เหมาะสมกับสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น ในขณะที่การผลิตไวน์ส่วนใหญ่จากที่นี่มีไว้สำหรับการบริโภคในท้องถิ่น แต่เราก็มั่นใจว่าจะได้เห็นไวน์จากอินโดนีเซียในตลาดต่างประเทศในไม่ช้า

อินเดีย

อินเดียเคยเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ในเอเชียที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมไวน์ จนกระทั่งมีการระบาดของโรคไทฟอยด์ หลังจากนั้นอินเดียก็หันมาให้ความสำคัญกับการปลูกองุ่นบริโภคผลสดและการทำลูกเกด อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นการปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์มากขึ้น

เนื่องจากเป็นดินแดนขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลายทางภูมิอากาศและภูมิประเทศ จึงมีหลายพื้นที่ที่เหมาะสำหรับองุ่นชนิดต่าง ๆ และสภาพภูมิอากาศบางแห่งยังสามารถให้ผลผลิตถึงสองครั้งต่อปี ไร่องุ่นส่วนใหญ่นั้นอยู่ในรัฐมหาราษฏระและรัฐกรณาฏกะ

จีน

ประเทศจีนเป็นประเทศผู้ผลิตไวน์ชั้นนำของประเทศในเอเชียทั้งหมดและเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้รับการยอมรับในระดับสากล ไวน์ส่วนใหญ่ที่ผลิตที่นี่ถูกใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศและการหาไวน์จีนในตลาดต่างประเทศนั้นเป็นไปได้ยาก

แหล่งผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ปักกิ่ง เยียนไถ จางเจียโข่ว จี๋หลิน ชานซี และหนิงเซี่ย ไวน์แดงและไวน์ขาวถูกผลิตขึ้นที่นี่ โดยเฉพาะสายพันธุ์ฝรั่งเศสต่าง ๆ

ไวน์ละติจูดใหม่กำลังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจากแหล่งผลิตไวน์ใหม่ ๆ เหล่านี้ได้รับการพัฒนาและองุ่นถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ การผลิตไวน์จะเพิ่มขึ้น เมื่อความต้องการภายในประเทศเป็นที่น่าพอใจก็คาดว่าจะได้เห็นไวน์เหล่านี้ในตลาดต่างประเทศ

ไวน์ละติจูดสูง

ไวน์ละติจูดสูง

ไวน์เขตละติจูดสูงซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นที่นี่มีอุปสรรคที่ตรงกันข้ามกับเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นในเขตละติจูดต่ำ แหล่งผลิตไวน์เหล่านี้ต้องหาทางเพื่อทำให้องุ่นได้รับแสงแดดที่เพียงพอ และมีศักยภาพในการแช่แข็งเถาองุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวที่รุนแรง นอกจากนี้การผลิตไวน์ที่นี่ยังมีราคาที่แพงมากเพราะต้นทุนแรงงานสูง

การผลิตไวน์ที่นี่มีข้อดี มีการพัฒนาขององุ่นที่ทนความหนาวเย็นได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และเกือบจะไม่มีความเสี่ยงต่อปัญหาที่เกิดจากเชื้อรา โรคราน้ำค้าง และแมลงต่าง ๆ อยู่เลย

เดนมาร์ก

เดนมาร์กเป็นประเทศแรกในแถบสแกนดิเนเวียที่เริ่มผลิตไวน์ และในปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นมากกว่า 50 ราย พวกเขามุ่งเน้นไปที่การผลิตไวน์ขาว ไวน์หวาน และสปาร์กลิ้งไวน์ Riesling, Pinot Blanc และ Muller Thurgau เป็นไวน์ที่ถูกผลิตมากที่สุด

รวมถึงมีการท่องเที่ยวเส้นทางสายไวน์ในเดนมาร์ก และพวกเขาได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวรวมเข้ากับอุตสาหกรรมไวน์ของพวกเขา อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่จะเน้นในระดับประเทศ

สวีเดน

สวีเดนมุ่งเน้นไปที่การปลูก Merlot, Rondo, Pinot Noir และ Chardonnay ทำให้มีการผลิตไวน์แดงมากที่สุดจากทุกแหล่งผลิตไวน์ในเขตละติจูดสูง เช่นเดียวกันกับเดนมาร์ก สวีเดนมีต้นทุนการผลิตสูง ดังนั้นไวน์จึงมีราคาค่อนข้างแพง

ความท้าทายที่ไม่เหมือนใครที่ผู้ผลิตไวน์ชาวสวีเดนต้องเผชิญก็คือความจริงที่ว่าพวกเขาไม่สามารถขายไวน์ที่โรงบ่มไวน์ได้อย่างถูกกฎหมาย ไวน์จะต้องถูกขายให้กับร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล และสิ่งนี้เองทำให้ความสามารถในการมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไวน์ประเภทต่าง ๆ นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้

แปลกแต่จริง เนื่องจากสวีเดนเป็นประเทศที่มีศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับไวน์อยู่หลายแห่ง และพวกเขาก็มุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้แก่คนงานในอุตสาหกรรมไวน์

นอร์เวย์

Riesling, Muller Thurgau, Pinot Blanc, และ Vidal เป็นองุ่นยอดนิยมในการปลูกที่นี่ การปลูกที่นี่นั้นเป็นองุ่นขาวเกือบทั้งหมด และพวกเขามีสายพันธุ์ที่มีความหลากหลายมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเขตละติจูดสูง เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นบางรายประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกองุ่นในที่ร่ม

นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีการปลูกองุ่นที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของโลก Bjorn Bergum ปลูกองุ่นที่ 61.2 องศาเหนือ

อุตสาหกรรมไวน์กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจมากมายและนี่เป็นการพาไวน์ไปในจุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างแท้จริง มันเป็นเพียงเรื่องของเวลาเท่านั้นจริง ๆ และในที่สุดไวน์ละติจูดสูงและไวน์ละติจูดต่ำเหล่านี้ก็จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในร้านค้าต่าง ๆ และกลายเป็นสิ่งปกติในตลาดไวน์ทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเพาะปลูกองุ่นที่มีความทนทานต่อความท้าทายของละติจูดต่าง ๆ และเพื่อทำให้เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างประสบความสำเร็จในทุก ๆ ปี

Christina

ในปี 2016, Christina สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาไวน์ทั่วโลก (Global Wine Studies) จากมหาวิทยาลัยเซ็นทรัลวอชิงตัน ในระหว่างที่เธอกำลังศึกษาอยู่นั้นเธอได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศฝรั่งเศสและทำงานที่อลาสกาในภาคฤดูร้อน หลังจากที่เธอจบการศึกษาและได้ทำงานที่โรงบ่มไวน์ที่เธอชื่นชอบในรัฐวอชิงตันอยู่สองสามปี เธอก็ได้ย้ายไปที่อลาสก้าเพื่อไล่ตามเป้าหมายอื่น ๆ ในชีวิต เธอสนุกไปกับการตกปลาและวิวทิวทัศน์แต่ในขณะเดียวกันเธอก็ยังคงทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมไวน์ในฐานะนักเขียน/ที่ปรึกษา

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
newsletter-signup-img.jpeg
รับข่าวสารล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเคล็ดลับเกี่ยวกับไวน์ล่าสุด รวมถึงข้อเสนอพิเศษและคำเชิญเข้าร่วม MasterClasses