tpl_newsletterWine

พื้นที่ปลูกไวน์บอร์โดซ์ มีวิธีรับรองความแท้ของไวน์ต่าง ๆ ของพวกเขาได้อย่างไร

คำว่า ไวน์ปลอม ในกรณีนี้หมายถึงไวน์คุณภาพด้อยที่ขายในราคาสูงเท่ากับไวน์ที่มียี่ห้อหรือประเภทของไวน์ของแท้ ซึ่งมันเกิดขึ้นตั้งแต่มีการเริ่มต้นค้าขายไวน์ พ่อค้าไวน์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือมักพยายามที่จะขายไวน์คุณภาพต่ำในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง โดยเฉพาะในปัจจุบันเทคนิคที่ใช้ในการทำไวน์พรีเมี่ยมปลอมนั้นมีความซับซ้อนอย่างมาก และอาจเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบไวน์ปลอมเหล่านั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์

ไวน์ปลอมเหล่านี้จำนวนมากถูกผลิตและ/หรือขายในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีน เนื่องจากความต้องการไวน์แบรนด์ดังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาค  โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวน์บอร์โดซ์ โดยเฉพาะบอร์โดซ์ที่ปลูกในช่วงแรกจากพื้นที่ปลูกไวน์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายในการปลอมแปลง

แล้วผู้ผลิตไวน์บอร์โดซ์ต่าง ๆ มีวิธีการปกป้องไวน์ของพวกเขาอย่างไรบ้าง? ผู้ผลิตสามารถให้การรับรองแก่ลูกค้าจากทั่วโลกของพวกเขาได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าซื้อไปนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาคาดหวัง? มาดูเทคนิคการต่อต้านการปลอมแปลงที่ทันสมัยที่สุดที่ใช้ในอุตสาหกรรมไวน์…

การระบุชื่อที่มองเห็นได้

โรงกลั่นไวน์หลายแห่งได้เพิ่มคุณสมบัติเฉพาะลงในฉลากและขวดไวน์ของพวกเขา ซึ่งทำให้มันเป็นสิ่งที่ยากต่อการปลอมแปลง สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึง:

  1. โฮโลแกรม
  2. การใช้เลเซอร์สลักขวด
  3. การออกแบบขวดที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีการผลิต
  4. ลงหมึกด้วยลายเซ็น DNA ที่เป็นกรรมสิทธิ์
  5. ใช้กระดาษที่หายากทำฉลาก
  6. ซ่อนรูปภาพหรือข้อความในฉลาก

คุณลักษณะเหล่านี้ยังคงค่อนข้างง่ายสำหรับผู้ลอกเลียนแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการปลอมแปลงสินค้า แต่มันก็ทำให้เป็นเรื่องง่ายในการที่จะระบุขวดไวน์ปลอมต่างๆ ที่ผลิตขึ้นอย่างไร้คุณภาพ

เทคโนโลยีการติดตามและตรวจสอบ

ผู้ผลิตต่าง ๆ ได้เริ่มใช้วิธีการติดตามที่เข้มงวดมากขึ้น เจ้าหน้าที่ศุลกากร, ผู้นำเข้า, และผู้จัดจำหน่ายจำนวนมากไม่มีเวลาหรืออุปกรณ์ทางเทคนิคต่าง ๆ ในการตรวจสอบความแท้ของขวดแต่ละขวด ผู้ผลิตต่างต้องการที่จะสามารถติดตามผลิตภัณฑ์ของพวกเขาหรือทำให้ผู้บริโภคตรวจสอบที่มาของขวดไวน์ได้ตลอดการเดินทางของพวกมันนับตั้งแต่มันออกจากพื้นที่ปลูกไวน์

  1. หมายเลขซีเรียล – แต่ละขวดจะได้รับหมายเลขของตัวเอง ซึ่งสามารถตรวจสอบผ่านเครือข่ายการกระจายสินค้า
  2. รหัส QR บนขวด – ผู้บริโภคสามารถอ่านรหัสได้จากแอพบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของขวดไวน์ และมันปลอมแปลงได้ยาก
  3. ชิปคอมพิวเตอร์ – กล่องบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ อาจถูกติดแท็กด้วยอุปกรณ์การติดตาม เพื่อติดตามเส้นทางไปยังผู้นำเข้าหรือสถานที่จำหน่ายแบบปลีกของพวกมัน

หากผู้บริโภคสามารถตรวจสอบที่มาของขวดไวน์จากผู้ผลิตไวน์ผ่านข้อมูลการติดตาม มันก็จะปลอมแปลงได้ยากมากขึ้น วิธีการนี้ผู้ผลิตมักใช้อยู่บ่อยครั้งสำหรับไวน์รุ่นต่าง ๆ ที่ออกขายในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงพบปัญหาในการตรวจสอบไวน์ที่ผลิตในปีเก่าต่าง ๆ ไวน์บอร์โดซ์ที่ดีหลายขวดนั้นต้องเป็นไวน์ที่บ่มไว้นานหลายปีหลังจากการซื้อ และการพิสูจน์ถึงแหล่งที่มาของขวดไวน์เก่า ๆ จึงยังคงเป็นปัญหา

ผลิตภัณฑ์มีการป้องกันการแกะ

หนึ่งในวิธีการปลอมแปลงที่แพร่หลายมากที่สุดคือ การเติมไวน์ลงในขวดที่เก็บสะสมไว้แล้วเติมไวน์ใหม่ที่มีคุณภาพต่ำลงไปในขวดไวน์พรีเมี่ยมเปล่า และจากนั้นนำขวดไวน์เหล่านี้กลับมาขายเพื่อผลกำไร

การปิดผนึกและการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่งจะถูกทำลายเมื่อขวดไวน์ถูกเปิดนั้นถูกนำมาใช้เพื่อให้สามารถแน่ใจได้ว่าขวดไวน์เหล่านั้นไม่สามารถถูกเติมและนำกลับมาขายต่อได้ เครื่องหมายเหล่านี้มีรหัสเฉพาะที่เชื่อมโยงกับขวด ซึ่งรหัสจะถูกทำลายถ้าหากมีการเปิดขวด

การติดเครื่องหมายการค้า

ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ผลิตไวน์ต้องเผชิญ คือ ชื่อต่าง ๆ ของแหล่งผลิตไวน์หรือการระบุแหล่งที่มาของไวน์นั้นไม่ได้เป็นเครื่องหมายการค้าในทวีปเอเชีย ผู้ผลิตชาวเอเชียสามารถใช้ชื่อแหล่งผลิต, พื้นที่ปลูกไวน์, และรูปแบบต่าง ๆ ของไวน์สำหรับไวน์ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น ซึ่งสร้างความสับสนอย่างมากให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์

ในปี 2011 สหพันธ์ผู้ผลิตไวน์บอร์โดซ์และเบอร์กันดีได้เริ่มทำการยื่นขอสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้าจากการระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

และการระบุชื่อผู้ผลิตหลายสิบรายการ สหพันธ์ผู้ผลิตไวน์เหล่านี้มีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมายและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ศุลกากรเกี่ยวกับการระบุฉลากไวน์ที่ถูกต้องและการระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มากขึ้นในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีน 

กรณีตัวอย่าง: พื้นที่ปลูกไวน์มาโกซ์ (Chateau Margaux)

พื้นที่ปลูกไวน์บอร์โดซ์ มีวิธีรับรองความแท้ของไวน์ต่าง ๆ ของพวกเขาได้อย่างไร

พื้นที่ปลูกไวน์มาโกซ์ คือ หนึ่งในพื้นที่ปลูกไวน์บอร์โดซ์พื้นที่แรก จากการจัดอันดับบอร์โดซ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1855 พื้นที่ปลูกไวน์มาโกซ์มีชื่อเสียงในด้านไวน์แดงบอร์โดซ์ระดับไฮเอนด์ที่ต้องใช้เวลาในการบ่มนานนับปีก่อนที่จะถูกนำไปบริโภค พื้นที่ปลูกไวน์มาโกซ์นั้นให้ความสำคัญอย่างมากในการปกป้องชื่อเสียงของพวกเขาในทวีปเอเชีย โดยการต่อสู้กับขวดไวน์ปลอมต่าง ๆ

มาโกซ์ได้รวมมาตรการต่อต้านการปลอมแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ในการผลิตขวดไวน์ของพวกเขา ขวดไวน์แต่ละขวดจะถูกสลักด้วยเลเซอร์ รวมถึงติดหมายเลขและบาร์โค้ด และกล่องบรรจุภัฑณ์นั้นก็ยังมีการติดหมายเลขและบาร์โค้ดเพื่อให้สามารถติดตามขวดไวน์ของพวกเขาได้ตลอดกระบวนการจัดจำหน่าย หมึกพิเศษถูกนำมาใช้บนฉลากและแคปซูล, ฉลากประกอบไปด้วยการพิมพ์ชื่อ “Chateau Margaux” ขนาดเล็กไว้ในตำแหน่งเฉพาะ โดยการออกแบบขวดนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี

เริ่มต้นขึ้นในการผลิตไวน์ปี 2009 พื้นที่ปลูกไวน์ได้ทำการเพิ่มความปลอดภัยด้วยการเพิ่มฉลากไฮเทค (Prooftag) ลงบนขวดไวน์ของพวกเขา แท็กเหล่านี้เป็นแถบกาวที่วิ่งอยู่ระหว่างแคปซูลฟอยล์บนจุกคอร์กและขวด แต่ละแท็กจะมีรหัสเฉพาะซึ่งไม่สามารถทำซ้ำได้และมีหมายเลขอ้างอิง ซึ่งเชื่อมโยงกับขวดแต่ละขวดโดยเฉพาะ ถ้าหากขวดถูกเปิด แท็กและรหัสก็จะถูกทำลาย พื้นที่ปลูกไวน์มาโกซ์ใช้ฉลากไฮเทคเหล่านี้กับไวน์รุ่นเรือธง (flagship) ของพวกเขา ซึ่งก็คือไวน์ Chateau Margaux รวมถึงไวน์ฉลากสอง (second label) ของพวกเขาด้วย เช่น ไวน์ Pavillon Rouge และไวน์ Pavillon Blanc

ในอนาคต…

เทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงมีความก้าวหน้าอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงสองปีหลัง ในขณะที่มันก้าวหน้ามากขึ้นเราหวังว่าจะเห็นขวดไวน์ปลอมน้อยลง 

ผู้บริโภคที่มีความรู้เกี่ยวกับไวน์มากขึ้นในเอเชียจะสามารถแยกไวน์ปลอมได้ง่ายขึ้น และจะมีความต้องการให้ผู้จำหน่ายไวน์ของพวกเขาจัดหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแท้และตรวจสอบที่มาได้มากยิ่งขึ้น

จากการที่ผู้บริโภคและผู้ผลิตมีความต้องการไวน์แท้ จึงทำให้เกิดความต้องการในการหาวิธีการป้องกันไวน์แท้จากการปลอมแปลงนั้นจะยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนจะเป็นการบังคับให้ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายนั้นมีความเข้มงวดมากขึ้น ในการคัดกรองไวน์ที่พวกเขานำเสนอ ทั้งหมดนี้จึงเป็นข่าวดีสำหรับผู้ผลิตและโรงกลั่นไวน์บอร์โดซ์จากทั่วทุกมุมโลก

Cedar Stoltenow

Cedar เป็นนักเขียน/ที่ปรึกษาเกี่ยวกับไวน์ในเมืองชิคาโก การเป็นผู้ที่รักในทุกสิ่งที่สามารถกินได้นั้นทำให้เธอกลับมาเกี่ยวข้องกับไวน์อีกครั้งหลังจากที่ได้หยุดพักและหันไปทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอยู่ช่วงระยะหนึ่ง เป้าหมายของเธอคือการทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงไวน์ได้มากขึ้นและพัฒนาความสนใจในสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ปัจจุบัน Cedar ทำงานในธุรกิจค้าปลีกไวน์พร้อม ๆ ไปกับการเขียนบทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไวน์และเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแบรนด์สำหรับผู้ผลิตรายย่อย

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
newsletter-signup-img.jpeg
รับข่าวสารล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเคล็ดลับเกี่ยวกับไวน์ล่าสุด รวมถึงข้อเสนอพิเศษและคำเชิญเข้าร่วม MasterClasses